Read the Beforeitsnews.com story here. Advertise at Before It's News here.
Profile image
By Center for a Stateless Society
Contributor profile | More stories
Story Views
Now:
Last hour:
Last 24 hours:
Total:

เอ.อาร์. ม็อกซอน ว่าด้วยมหาเศรษฐี

% of readers think this story is Fact. Add your two cents.


โดย เควิน คาร์สัน
เควิน คาร์สัน. บทความต้นฉบับ: A.R. Moxon on Billionaires. 26 เมษายน 2025. แปลเป็นภาษาไทยโดย Kin

นานๆ ทีเวลาเราได้ยินคนพูดเรื่องอะไรสักเรื่องหนึ่งได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แบบ เราจะอยากแชร์สิ่งนั้นออกไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ สำหรับผม เรื่องที่ว่าคือ คำอธิบายเกี่ยวกับมหาเศรษฐีและบทบาททางสังคมของมหาเศรษฐีทั้งหลาย โดย เอ.อาร์. ม็อกซอน

สิ่งที่พวก[มหาเศรษฐี]ทำคือ การพาตัวเองเข้าไปใกล้แหล่งคุณค่าโดยธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากระบบของมนุษย์ที่ดำเนินไปโดยธรรมชาติ – คุณค่าที่เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์เป็นมนุษย์และใช้ชีวิตใกล้ชิดกันจนกลายเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า “สังคม” อันเป็นต้นกำเนิดของคุณค่าทั้งปวง – จากนั้นก็ขโมยคุณค่าเหล่านั้นไปเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองแต่เพียงผู้เดียว พวกเขายึดครองคุณค่าที่มนุษย์สร้างขึ้นร่วมกันบางส่วนไว้ – ยึดครองกิจการ กระบวนการ หรือแนวคิดหนึ่งๆ หรือสิ่งอื่นใดก็ตามที่เกิดขึ้นได้ก็เพราะมนุษย์อยู่ร่วมกันในฐานะสังคม และสำเร็จขึ้นมาได้ก็เพราะมันสร้างคุณค่าให้กับผู้อื่น – แล้วนำคุณค่าที่พวกเขาได้ขโมยมาอย่างไม่เป็นธรรมนี้ไปใช้เป็นเครื่องมือในการครอบครองสิ่งเหล่านั้น จากนั้นก็บิดเบือนมันจนในที่สุดมันไม่สร้างคุณค่าให้ใครอีกเลย นอกจากจะส่งคุณค่ากลับไปให้พวกเขาเท่านั้น สุดท้าย มหาเศรษฐีจะนำคุณค่าที่ยักยอกไว้แต่ผู้เดียวนี้มาใช้เป็นหลักฐานว่าตนเองช่างเป็นบุคคลทรงคุณค่าเหนือใคร

ประโยคแรกของม็อกซอนถือเป็นหนึ่งในบทสรุปที่กระชับที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็น ในบรรดาข้อโต้แย้งที่นักวิจารณ์ทุนนิยมพยายามเสนอในช่วงสองร้อยปีที่ผ่านมา

ข้อความดังกล่าวแทบจะเหมือนกับคำอธิบายของเฮนรี จอร์จ เกี่ยวกับการทำงานของค่าเช่าที่ดินของเจ้าที่ดินแบบคำต่อคำ จอร์จอธิบายว่า เจ้าของที่ดินแค่นั่งอยู่บนผืนดิน อันเป็นทรัพยากรที่ไม่มีใครเป็นผู้สร้างขึ้น และมีอยู่จำกัดโดยธรรมชาติ ก็สามารถกอบโกยมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากทำเลนั้นไปได้ ต่อให้มูลค่าทั้งหมดเหล่านี้จะเกิดขึ้นจากความมั่งคั่งของชุมชนรอบข้าง และไม่ได้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาใดๆ ที่เจ้าของที่ดินเป็นคนทำเลยก็ตาม

จอร์จต่อยอดคำอธิบายนี้จากการวิเคราะห์ส่วนต่างค่าเช่า (differential rent) ของริคาร์โด หลักการคือ ที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งต้องใช้แรงงานและการปรับปรุงดินน้อยที่สุดในการผลิตผลผลิตต่อหน่วย จะถูกนำมาเพาะปลูกก่อน จากนั้นเมื่อประชากรเพิ่มขึ้น ที่ดินผืนใหม่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ลดลงเรื่อยๆ และต้องใช้ต้นทุนมากขึ้นในการผลิตผลผลิตเท่าๆ กัน ก็จะถูกนำมาเพาะปลูกตามลำดับ เมื่อเกษตรกรที่ทำกินบนที่ดินคุณภาพต่ำกว่าได้ผลผลิตน้อยลงด้วยต้นทุนเท่าเดิม พวกเขาจึงจำเป็นต้องตั้งราคาขายสูงขึ้น ส่วนเกษตรกรที่ทำกินอยู่บนที่ดินที่อุดมสมบูรณ์กว่า แม้ต้นทุนจะต่ำกว่ามาก ก็ยังสามารถตั้งราคาขายเท่ากันได้ เพราะข้าวเป็นสินค้าที่ทดแทนกันได้ ราคาส่วนเพิ่มที่พวกเขาเก็บได้เพียงเพราะคนที่ปลูกบนที่ดินแย่กว่าต้องตั้งราคาสูงขึ้นนี่เอง คือรายได้ที่ไม่ได้มาจากการลงแรงจริง (unearned income) กล่าวคือเป็นราคาที่เรียกเก็บได้มากกว่าและนอกเหนือจากสิ่งที่จูงใจให้พวกเขานำสินค้ามาขายในตลาดเนื่องจากความได้เปรียบเชิงสถานการณ์ นี่คือพื้นฐานของทฤษฎีค่าเช่าทางเศรษฐกิจในฐานะที่เป็นรายได้ที่ไม่ได้เกิดจากลงแรงจริง เนื่องจากเป็นผลของความได้เปรียบเชิงอำนาจ (เช่น สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่ดีกว่าคนอื่น – ผู้แปล) มากกว่าจะเกิดจากการผลิต

ค่าเช่าทางเศรษฐกิจไม่ได้จำกัดอยู่แค่ส่วนต่างค่าเช่าจากที่ดิน ซึ่งเกิดจากทำเลหรือความอุดมสมบูรณ์ของที่ดินเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงรายได้ทุกประเภทที่ไม่ได้เกิดจากการผลิต ทว่าเกิดจากความได้เปรียบเชิงสถานการณ์ เฮนรี จอร์จ จูเนียร์ ลูกชายของจอร์จ ขยายการวิเคราะห์เรื่องที่ดินของพ่อไปสู่การวิพากษ์ “อภิสิทธิ์” โดยทั่วไป ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการดูดกลืนและปิดกั้น “โอกาสตามธรรมชาติ” (natural opportunities)  เพื่อสกัดเอารายได้ที่ไม่ได้มาจากการลงแรงจริง

การผูกขาดโอกาสตามธรรมชาติ การเก็บภาษีมหาศาลจากการผลิต การใช้บริการสาธารณะอย่างผิดๆ เพื่อประโยชน์ส่วนตน และอภิสิทธิ์เล็กใหญ่อื่นๆ อีกมาก คือสาเหตุของความเหลื่อมล้ำในการกระจายความมั่งคั่งที่เห็นได้ชัดอยู่รอบตัว เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่พลังในการผลิตความมั่งคั่ง แต่เป็นพลังในการแย่งชิงความมั่งคั่งมาเป็นของตน

นักเศรษฐศาสตร์สถาบัน ธอร์สไตน์ เวเบลน เรียกปรากฏการณ์แบบเดียวกันนี้ว่า “การทำให้ใช้งานไม่ได้ที่กลายเป็นทุน” (capitalized disserviceability) ซึ่งช่วยให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น แนวคิดนี้ชี้ว่าที่มาของความมั่งคั่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องของการผลิต แต่คือการไม่เข้าไปขัดขวาง[การผลิต]ในยามที่ตนเองมีอำนาจจะขัดขวางได้

มอริซด็อบนักมาร์กซิสต์เสนอแนวคิดเดียวกันนี้ผ่านตัวอย่างสมมติของค่าเก็บค่าผ่านทาง

ลองจินตนาการว่ารัฐมอบสิทธิพิเศษให้ชนชั้นหนึ่งสามารถตั้งด่านเก็บค่าผ่านทางบนถนนสาธารณะทุกสาย และเก็บรายได้จากค่าผ่านทางไว้เป็นของตนแต่เพียงผู้เดียว ตามกฎของเศรษฐศาสตร์สายมูลค่าส่วนเพิ่ม ทรัพย์สินในด่านเหล่านี้จะกลายเป็น “ปัจจัยการผลิต” และการอนุญาตหรือไม่ขัดขวางการสัญจรเชิงพาณิชย์บนถนนสาธารณะก็จะกลายเป็น “บริการที่ก่อให้เกิดการผลิต” (productive service) ไปโดยปริยาย จำนวนเงินค่าผ่านทางที่เจ้าของด่านเก็บไว้ได้ ซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าปลายทางสูงขึ้น จะถูกมองว่าเป็น “ผลิตภาพส่วนเพิ่ม” (marginal productivity) ของการบริการที่ก่อให้เกิดการผลิตเหล่านี้

ต่างจากเศรษฐศาสตร์สถาบัน เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิกมีแนวโน้มที่จะยอมรับ “สิทธิในทรัพย์สิน” ที่กำหนดโดยสังคมใดสังคมหนึ่งโดยไม่ตั้งคำถาม และปฏิบัติต่อรายได้ที่เกิดจากอำนาจในการขัดขวางราวกับสิ่งเป็นกลางทางคุณค่า (wertfrei) คือมองว่ามันเป็นผลตอบแทนจาก “คุณค่า” ที่ถูกสร้างขึ้นจริงๆ

ในความเป็นจริง ความมั่งคั่งมหาศาลที่มหาเศรษฐีส่วนใหญ่สะสมไว้ ไม่ได้เกิดจาก “คุณค่า” ที่พวกเขาสร้างขึ้นด้วยการผลิต แต่เกิดจากการไม่ขัดขวางการผลิตของคนอื่น พูดอีกอย่างก็คือ วิธีที่จะสะสมความมั่งคั่งในระดับพันล้านดอลลาร์ฯ ไม่ใช่การผลิตด้วยตนเอง แต่คือการควบคุมเงื่อนไขที่คนอื่นต้องยอมรับจึงจะได้รับอนุญาตให้ผลิตได้ พวกเขาทำเช่นนี้ผ่านการถือครองที่ดินแบบเจ้าที่ดิน (landlordism) ผ่านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และผ่านกฎหมายที่จำกัดการให้สินเชื่อไว้กับผู้ที่มีทุนสะสมจำนวนมาก นอกจากนี้ พวกเขายังได้รับการเอื้อประโยชน์เพิ่มเติมจากต้นทุนการผลิตที่ถูกเสกสร้างให้ถูกลง การผลักต้นทุนทางสังคมให้รัฐรับผิดชอบ การจำกัดการแข่งขันโดยรัฐ และการคุ้มครองหรือยกเว้นความรับผิดทางกฎหมายจากความเสียหายที่พวกเขาก่อขึ้น

ประเด็นหนึ่งที่ผมเห็นแย้งกับม็อกซอนก็คือ มหาเศรษฐีไม่ได้ “กักตุน” ความมั่งคั่ง เพราะลำพังปริมาณความมั่งคั่งที่พวกเขามีก็นับว่ามากเกินกว่าที่มนุษย์คนหนึ่งจะใช้จ่ายเพื่อบริโภคสินค้าต่างๆ ต่อให้มีชีวิตหลายชั่วอายุคน สิ่งที่พวกเขาทำคือการใช้ความมั่งคั่งเหล่านั้นเพื่อควบคุมการจัดสรรทรัพยากรมากกว่า

ผู้แก้ต่างให้ทุนนิยมและมหาเศรษฐีมักบอกว่า แรงงานจะไม่สามารถสร้างคุณค่าใดๆ ได้เลย หากไม่มี “ทุน” ที่นักลงทุน “มีส่วนร่วม” หรือ “ลงทุน” เข้าไป พวกเขาอ้างว่านายทุนเป็นคน “จัดหา” เครื่องจักรให้แรงงานใช้ในการผลิตสินค้า แต่คำกล่าวนี้หมายถึงอะไร นายทุนเป็นคนสร้างเครื่องจักรเหล่านั้นด้วยตนเองหรือ เครื่องจักรถูกสร้างขึ้นจากการเอาเงินสดมากองเรียงกันเหมือนอิฐหรือ เปล่าเลย

วัตถุดิบทางกายภาพทุกชนิดที่เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม ล้วนเป็นของขวัญจากธรรมชาติที่ถูกสกัดจากผืนดินและดัดแปลงด้วยกำลังแรงงานของมนุษย์ หรือไม่ก็เป็นผลผลิตของคนกลุ่มต่างๆ ที่สืบทอดต่อกันด้วยการลงกำลังแรงงานของตนไปในผลผลิตด้วยกำลังแรงงานของคนก่อนหน้า ทุกอย่างเกิดจากของขวัญของธรรมชาติและแรงงานมนุษย์ ทั้งแรงงานทางกายและสติปัญญา ไม่มีอะไรนอกเหนือจากนั้นเลย “ทุน” ของนายทุนไม่ได้เป็นอะไรอื่นนอกจากการอ้างความเป็นเจ้าของซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยสังคม (socially constructed ownership claim) ผ่านสิทธิ์ในการควบคุมการจัดสรรผลผลิตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องระหว่างกลุ่มแรงงานต่างๆ การ “จัดหา” ทุนของนายทุนไม่ได้ต่างอะไรกับการ “จัดหา” ที่ดินให้ชาวนาโดยเจ้าที่ดินยุคฟิวดัล หรือการ “จัดหา” เครื่องจักรและวัตถุดิบให้กับแรงงานโดยกรรมาธิการอุตสาหกรรมของสหภาพโซเวียต

ในทุกสังคมตลอดประวัติศาสตร์ มูลค่าทุกอย่างล้วนถูกสร้างขึ้นจากแรงงานมนุษย์ที่กระทำต่อของขวัญจากธรรมชาติ สิ่งที่อุดมการณ์ต่างๆ ต่อสู้แย่งชิงกันก็มีเพียงเรื่องเดียว คือ ใครจะเป็นผู้มีสิทธิ ซึ่งสังคมกำหนดขึ้น ในการจัดสรรส่วนเกินของมูลค่าเหล่านั้น จนถึงทุกวันนี้ ถ้าไม่นับข้อยกเว้น เช่น รัสเซียยุคปฏิวัติก่อนที่เลนินจะยุบคณะกรรมการแรงงาน สเปนยุคปฏิวัติก่อนที่รัฐบาลที่ครอบงำโดยพรรคคอมมิวนิสต์จะล้มเลิกระบบการจัดการตนเองของแรงงาน รวมถึงชิอาปัส (Chiapas) และโรจาวา (Rojava) ยังไม่เคยมีสังคมมนุษย์ใดภายหลังการกำเนิดของรัฐที่ปราศจากชนชั้นปรสิต ซึ่งมั่งคั่งขึ้นจาก “การมีส่วนร่วมในการผลิต” ซึ่งแท้จริงแล้วคือการยอมให้การผลิตเกิดขึ้นโดยไม่ใช้กำลังเข้าไปขัดขวาง

เป้าหมายของอนาธิปไตยคือสังคมที่ปราศจากชนชั้นปรสิต.

C4SS relies entirely on donations. If you want to see more translations like this, please consider supporting us. Click here to see how

The Center for a Stateless Society (www.c4ss.org) is a media center working to build awareness of the market anarchist alternative


Source: https://c4ss.org/content/60422


Before It’s News® is a community of individuals who report on what’s going on around them, from all around the world.

Anyone can join.
Anyone can contribute.
Anyone can become informed about their world.

"United We Stand" Click Here To Create Your Personal Citizen Journalist Account Today, Be Sure To Invite Your Friends.

Before It’s News® is a community of individuals who report on what’s going on around them, from all around the world. Anyone can join. Anyone can contribute. Anyone can become informed about their world. "United We Stand" Click Here To Create Your Personal Citizen Journalist Account Today, Be Sure To Invite Your Friends.


LION'S MANE PRODUCT


Try Our Lion’s Mane WHOLE MIND Nootropic Blend 60 Capsules


Mushrooms are having a moment. One fabulous fungus in particular, lion’s mane, may help improve memory, depression and anxiety symptoms. They are also an excellent source of nutrients that show promise as a therapy for dementia, and other neurodegenerative diseases. If you’re living with anxiety or depression, you may be curious about all the therapy options out there — including the natural ones.Our Lion’s Mane WHOLE MIND Nootropic Blend has been formulated to utilize the potency of Lion’s mane but also include the benefits of four other Highly Beneficial Mushrooms. Synergistically, they work together to Build your health through improving cognitive function and immunity regardless of your age. Our Nootropic not only improves your Cognitive Function and Activates your Immune System, but it benefits growth of Essential Gut Flora, further enhancing your Vitality.



Our Formula includes: Lion’s Mane Mushrooms which Increase Brain Power through nerve growth, lessen anxiety, reduce depression, and improve concentration. Its an excellent adaptogen, promotes sleep and improves immunity. Shiitake Mushrooms which Fight cancer cells and infectious disease, boost the immune system, promotes brain function, and serves as a source of B vitamins. Maitake Mushrooms which regulate blood sugar levels of diabetics, reduce hypertension and boosts the immune system. Reishi Mushrooms which Fight inflammation, liver disease, fatigue, tumor growth and cancer. They Improve skin disorders and soothes digestive problems, stomach ulcers and leaky gut syndrome. Chaga Mushrooms which have anti-aging effects, boost immune function, improve stamina and athletic performance, even act as a natural aphrodisiac, fighting diabetes and improving liver function. Try Our Lion’s Mane WHOLE MIND Nootropic Blend 60 Capsules Today. Be 100% Satisfied or Receive a Full Money Back Guarantee. Order Yours Today by Following This Link.


Report abuse

Comments

Your Comments
Question   Razz  Sad   Evil  Exclaim  Smile  Redface  Biggrin  Surprised  Eek   Confused   Cool  LOL   Mad   Twisted  Rolleyes   Wink  Idea  Arrow  Neutral  Cry   Mr. Green

MOST RECENT
Load more ...

SignUp

Login

Newsletter

Email this story
Email this story

If you really want to ban this commenter, please write down the reason:

If you really want to disable all recommended stories, click on OK button. After that, you will be redirect to your options page.